วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

วีนัส เทพีแห่งความงาม ผู้กำเนิดจากน้ำทะเล

วีนัส เทพีแห่งความงาม ผู้กำเนิดจากน้ำทะเล
วีนัส หรือ อะโฟรไดท์เทพีวีนัส เป็นเทพีแห่งเทพปกรณัมโรมันที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรักและความงาม หรืออีกชื่อคือ อโฟรไดท์ (Aphrodite) แห่งเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นชายาของเทพวัลแคน (Vulcan) หรือ เฮเฟสทัส เทพแห่งงานช่าง
เทพีวีนัสตามตำราว่าเกิดขึ้นเองจากฟองทะเล ด้วยพระนามของพระนาง อะโฟรไดท์ นั้น มาจากคำว่า 'Aphros' ที่แปลว่าฟอง ซึ่งมีตำนานว่าพระนางเกิดในทะเลใกล้เกาะไซเธอรา และถูกคลื่นซัดไปยังเกาะไซปรัส แต่บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพซุสที่เกิดจากจากนางอัปสรไดโอนี บางตำราบอกว่า วีนัส เป็นเทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ กำเนิดของเธอนับว่าเป็นเรื่องเหลือจะคาดคิดจริงๆ นั่นคือซูส (Zeus) จับพ่อของเธอตอนนั่นเองหยดเลือดจากกล่องดวงใจที่เพิ่งถูกพรากออกจากร่างก็หยดลงในทะเล มันทำให้กลายเป็นฟองสีขาว และก่อกำเนิดเป็นวีนัสขึ้นมา ในทะเลแถวๆ เกาะไซเธอรา (Cythera) จากนั้น เจ้าแม่ถูก คลื่นซัดไปจนถึงเกาะไซพรัส (Cyprus) อาศัยเหตุนี้ เกาะทั้งสองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเจ้าแม่ และบางทีเจ้าแม่ก็มีชื่อเรียกตามชื่อเกาะทั้งสอง นี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)
แต่ที่ตรงกันคือพระนางมีความงดงามที่ไม่มีใครเทียมได้แม้กระทั่งเทพธิดาด้วยกัน และสามารถสะกดใจผู้ชายทุกคนได้ภายในพริบตาแรกที่มองเห็นพระนาง อีกทั้งพระนางก็ชอบใจในความสวยงามของตนเองมากเสียด้วย พระนางจึงไม่ยอมเด็ดขาดหากใครจะกล้าล้ำเส้นเทพีความงามของพระนาง ด้วยแรงริษยาที่รุนแรงพอๆ กับรูปโฉมสะสวยทำให้เทพีวีนัสเป็นที่หวาดหวั่นของเทพหลายๆ องค์

เจ้าแม่มีตำนานต้นกำเนิดมาจากดินแดนซีกโลกตะวันออกด้วย ว่ากันว่าเจ้าแม่เป็นเทวีองค์แรกเริ่มของ ชนชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคม มากมาย ในดินแดนตะวันออกแถบตะวันออกกลาง ทราบกันมาว่าเจ้าแม่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวอัสสิเรีย กับบาบิโลเนีย ที่มีนามว่า อีชตาร์ (Ishtar) และก็ยังเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวไซโร-ฟีนิเซี่ยน ผู้มีนามกรว่า แอสตาร์เต (Astarte) จึงนับได้ว่าเป็น เทวีที่มีความสำคัญมากมาแต่ดึกดำบรรพ์

ในวันแรกที่เทพีวีนัสปรากฏตัวบนเขาโอลิมปัส เทพชายทุกองค์โดยเฉพาะเทพซุสเองก็อยากได้พระนางมาครอบครอง แต่เทพีวีนัสไม่ใช่หญิงสาวเรียบร้อยหัวอ่อนว่าง่าย ทำให้เทพซุสเกิดความโมโหและเเก้เผ็ดพระนาง โดยจับพระนางแต่งงานกับเทพวัลแคนพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเทพวัลแคนชอบขลุกอยู่ในโรงงาน ก่อสร้าง และประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เนื้อตัวมอมแมม แถมยังเป็นเทพขาเป๋ ทำให้เทพีวีนัสโกรธเคืองอย่างมาก แต่พระนางก็กล้าทำในสิ่งที่เทพีอื่นๆ ไม่กล้า นั่นคือการคบชู้สู่ชายแบบตามใจชอบ ดังเช่น

1. เทพอเรส เทพแห่งสงคราม โอรสอีกองค์ของเทพซุสและเป็นน้องชายร่วมท้องของเทพวัลแคน ด้วยความที่มีรูปร่างหน้าตางดงามหล่อเหลา ทำให้ทั้งสองเทพเทพีเกิดรักใคร่กันในใจเงียบๆ แต่แรกเจอ แต่เมื่อเทพีวีนัสถูกจับคลุมถุงชน ทั้งสองจึงยอมอยู่กินกันแบบชู้รักอย่างมีความสุข กระทั่งมีพยานรักด้วยกันถึง 4 องค์ คือ
  • คิวปิด กามเทพ เทพเจ้าแห่งความรัก มีชายาเป็นคู่แค้นเก่าของมารดานามว่า เทพีไซคี และมีธิดาหนึ่งองค์กับพระชายา นามว่า เดลิซิโอ
  • แอนตีรอส โอรสองค์รอง เป็นเทพเจ้าแห่งการรักตอบ
  • ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี ธิดาองค์ที่สาม ซึ่งเทพอาเรสยกให้แต่งงานกับแคดมัส ผู้ก่อตั้งเมืองธีบส์ โดยเทพอาเรสไม่รู้เลยว่า พระองค์ได้สาปแช่งแคดมัสไว้ ธิดาองค์นี้ในที่สุดก็กลายร่างเป็นงูตามสวามี และลูกหลานสืบต่อมาจึงประสบกับชะตาอันน่าเศร้า อย่างที่รู้จักกันดีคือ โอดิปุส ผู้ซึ่งฆ่าพ่อของตนและได้แม่เป็นภรรยา
  • อัลซิปเป ธิดาองค์สุดท้อง มีรูปโฉมงดงามจนถูกโอรสเทพโพไซดอนลักพาตัวไป ท้ายสุดเทพอเรสตามชิงธิดากลับมาได้ และฆ่าโอรสเทพโพไซดอนตาย เทพโพไซดอนโกรธเคืองมากถึงขนาดต้องขึ้นศาลกับเทพ เอเรส แต่ท้ายที่สุดเทพอเรสชนะความ
  • 2. เทพเฮอร์มีส ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดากับเทพอาเรสและเทพวัลแคน เป็นเทพแห่งการติอต่อสื่อสาร การโกหก และการขโมย ทั้งสองมีโอรสชายด้วยกันหนึ่งองค์คือ เฮอร์มาโฟไดทัส แต่ภายหลังก็กลายเป็นเทพสองเพศ เพราะมีนางอัปสรชื่อ ซาลมากิส มาหลงรักเฮอร์มาโฟไดทัส ทว่าเขาไม่ไยดีต่อนางเลย นางจึงวิงวอนแก่เทพเจ้าให้นางได้ติดตามเขาไปทุกที่ ท้ายสุด นางซาลมากิสก็ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเฮอร์มาโฟไดทัสตามแรงอธิษฐาน ทำให้เฮอร์มาโฟไดทัสมีสองเพศนับแต่นั้นมา

    3. อาโดนิส ชายรูปงามซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดอกกุหลาบ เล่ามาว่า ครั้งหนึ่งในป่าใหญ่ ขณะเทพีวีนัสกำลังประพาสป่า เกิดพบต้นไม้ใหญ่งดงามต้นหนึ่งหักโค่นลง และภายในมีเด็กชายหน้าตาน่ารักอยู่ พระนางจึงรับเด็กชายไว้และตั้งชื่อเขาว่า อาโดนิส พระนางฝากเทพีเพอร์เซโฟนี่มเหสีแห่งเทพฮาเดสดูแล จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านมา เทพีวีนัสบังเอิญถูกศรรักของโอรสสะกิดจนเป็นแผลเล็ก และเวลาประจวบเหมาะกับที่อาโดนิสเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วมาปรากฏตรงหน้าพระนาง ทำให้เทพีวีนัสหลงรักอาโดนิสปักใจ และขออาโดนิสคืนจากเทพีเพอร์เซโฟนี่ แต่องค์เทพีไม่ยินยอมด้วยความผูกพันที่มีต่อชายหนุ่ม ทั้งสองเทพีจึงเกิดเบาะแว้งกันใหญ่โต เทพซุสจึงตัดสินให้อาโดนิสสามารถอยู่กับเทพีวีนัสสี่เดือนบนโลกมนุษย์ อยู่อีกสี่เดือนในยมโลกกับเทพีเพอร์เซโฟนี่ และอีกสี่เดือนอาโดนิสจะอยู่ที่ไหนก็ได้ตามใจ(บางตำราก็ว่า แบ่งระหว่างสองเทพีองค์ละ 6 เดือน) แต่เทพอาเรสหึงหวงชายา(ลับ)ของตนมาก จึงแปลงเป็นหมูป่าที่อาโดนิสชอบล่าลวงเขาเข้าป่าไปและฆ่าทิ้ง เทพีวีนัสเสียใจมากที่พบแต่ศพของชายคนรัก พระนางจึงเนรมิตดอกไม้งามขึ้นมาจากเลือดของอาโดนิส เรียกว่า ดอกอโดนิส หรือ ดอกเออะเนมโมนิ (Anemone) แปลว่า ดอกตามลม เนื่องจากธรรมชาติซึ่งกล่าวกันว่า ลมทำให้ดอกไม้นี้แย้มบานและภายหลังก็พัดกลีบให้ร่วงหล่นไป มีฤดูกาลอยู้ได้เพียงชั่ว 3-4 เดือนเท่านั้น ต่อมาเชื่อกันว่า ดอกอโดนิส ซึ่งดอกไม้สัญลักษณ์แห่งความรัก ก็คือ ดอกกุหลาบ นั่นเอง
    4. แอนไคซีส แอนไคซีสเป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นบุตรเขยของท้าวอิลัสปู่ของท้าวเพรียมฝ่ายทรอย ทั้งๆ ที่เขามีชายาอยู่แล้ว แต่เทพีวีนัสก็หลงใหลในตัวของแอนไคซีสมาก พระนางแปลงตัวมาเป็นนางอัปสรประจำเขาไอดา และหาโอกาสใกล้ชิดกับแอนไคซีส จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ อีเนียส วีรบุรุษฝ่ายทรอยในสงครามทรอย ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น

    เทพบุตรทั้งหลายต้องการเธอมาแนบข้าง ในขณะที่บรรดาเทพธิดาอยากจะเหวี่ยงเธอไปให้ไกลหูไกลตา ไม่มีใครทำร้ายเธอสำร็จจนกระทั่งวันหนึ่งบรรดาเทพธิดาขี้อิจฉาทั้งหลายก็ลากมนุษยชาติที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เข้าไปเป็นเครื่องมือแก้แค้น ด้วยเรื่องการทะเลาะทุ่มเถียงที่ไร้สาระ

    เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่ออีริส (Eris) เทพแห่งความบาดหมาง กลิ้งลูกแอปเปิลทองคำสลักคำว่า "สำหรับผู้ที่งามที่สุด" เข้าไปในกลุ่มเทพธิดาที่ได้รับเชิญมาในงานแต่งงานบนโอลิมปัส วีนัส เฮรา และอธีนีต่างก็อ้างว่าคำที่สลักไว้บนลูกแอปเปิลหมายถึงตน ถึงแม้เทพซูสก็ปวดเฮดจนไม่อาจตัดสินว่าใครจะเป็นผู้งามที่สุด ว่าแล้วก็โยนกลองลงไปให้มนุษย์ผู้ชายเป็นผู้ตัดสิน มนุษย์ผู้ชายผู้ที่ซวยที่สุดในรอบปี และจะกลายเป็นต้นเหตุให้ผู้คนล้มตายเหมือนผักปลานั่นก็คือเจ้าชายปารีส ( Paris) ซึ่งเป็นราชบุตรของกษัตริย์ปรีแอม (Priam) แห่งทรอย แน่ละปารีสย่อมเลือกวีนัสแน่นอน นั่นเป็นสาเหตุให้ทั้งเฮร่าและอธีนีคุมแค้นหาทางแก้เผ็ดปารีส พาให้เขาต้องตายในสนามรบและกรุงทรอยถึงแก่กาลพินาศย่อยยับ แต่วีนัสก็ไม่เห็นเป็นอะไรไปด้วยเลย...
    ภาพวีนัส ภาพใหญ่ กรุณาโหลดรอสักครู่

    อารมณ์ของเทพไท้แห่งโอลิมปัสนี่เอาแน่อะไรไม่ได้เลย เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง แต่ที่แน่ๆอย่างหนึ่งเทพพวกนี้แม้จะมีอารมณ์รักที่รุนแรงแต่เอาจริงเข้ากลับไม่ค่อยรู้ความต้องการภายในของตัวเองเท่าไร จุดอ่อนนี่เองที่ทำให้วีนัสเข้าไปนั่งอยู่กลางใจของบรรดาเทพทั้งหลาย และกลายเป็นเทพีสำคัญองค์หนึ่งในที่สุด เธอจะเป็นคนอ่อนหวานและสง่างามกับผู้ที่ให้เกียรติบูชาเธอ แต่เธอจะโกรธขึ้งกับผู้ที่ดูถูกเหยียดหยาม ครั้งหนึ่งหญิงสาวแห่งอมาธุส (Amathus) กล่าววาจาดูถูก วีนัสปล้นความเป็นผู้ดีของเธอโดยที่เธอไม่ทันรู้ตัวและสาปให้เธอพึงใจกับกามรมณ์จนทำให้กลายเป็นโสเภณีในที่สุด

    วีนัสเป็นเทพีที่สร้างความงามให้แก่หญิงสาว เธอจะเป็นผู้บันดาลให้อ้อมกอดและร่างกายของหญิงสาวพรักพร้อมสำไรับชายหนุ่ม แต่เธอเองก็จะเป็นผู้บันดาลความเจ็บปวดให้แก่เขาเหล่านั้นในรูปของความไม่สมหวังในความรักด้วย…

    เทวีองค์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดได้แก่เทวี อโฟรไดที่ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) ซึ่งงเป็นเจ้าแม่ครองความรักและความงาม สามารถสะกดเทพและมนุษย์ทั้งปวงให้ลุ่มหลง ทั้งอาจจะลบสติปัญญาของผู้ฉลาดให้ตกอยู่ในความโฉดเขลาไปได้ และเจ้าแม่จะคอยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความเย้ายวนของเจ้าแม่ร่ำไป

    ว่ากันว่าแรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะกลายเป็นเทวีแห่งความงามและความรักนั้น อโฟร์ไดที่เป็นเทวีแห่งความสมบูรณ์ มาก่อน เมืองที่นับถือเจ้าแม่มากที่สุดได้แก่ เมืองปาฟอสในไซปรัสและเมืองไซธีราในเกาะครีต นอกจากนั้น วิหารที่เล่าลือ ว่าโอ่อ่าที่สุดของซีกโลกทางด้านตะวันออกได้แก่ วิหารที่เมืองคนิดุส ในรัฐแคเรีย (Caria) เมื่อเดินทางมาถึงกรีกก็มีผู้ ศรัทธาเชื่อถือสร้างวิหารใหญ่ให้หลายแห่ง รวมทั้งกรุงเอเธนส์ซึ่งมีเทวีเอเธน่า เป็นเทพอุปถัมภ์อยู่บนเนินอโครโปลิส ได้กล่าวแล้วว่า อโฟรไดที่เป็นเทวีที่ชาวกรีกและโรมันโบราณถือว่าเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์มาก ที่สุด เนื่องจากเจ้าแม่เป็นเทวีครองความรักและความงาม และความงามกับความรักก็เป็นสิ่งที่จับใจคนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เจ้าแม่จึงมักเป็นที่เทิดทูนและกล่าวขวัญในวิจิตรศิลป์และวรรณคดีต่าง ๆ นอกจากนั้นชาวกรีก และโรมันยังถือ ว่าเจ้าแม่เป็นเทวีครองความมีลูกดกและการให้กำเนิดทารกอีกด้วย มีคติความเชื่อประการหนึ่งซึ่งอย่างน้อยก็ยังพูดกันติด ปากชาวตะวันตกมาจนถึง ปัจจุบันนี้ว่า ทารกถือกำเนิดเพราะนกกระสานำมา คตินี้สืบเนื่องจากข้อยึดถือของชาวกรีกและ โรมันมาแต่เดิมเหมือนกัน

    ในเทพปกรณัมกล่าวว่า นกกระสาเป็นนกประกอบบารมีของอโฟรไดที่ คราวใดมีนกกระสาผัวเมียไปทำรังอยู่บน ยอดหลังคาบ้านใด ก็หมายความว่าเจ้าแม่อโฟรไดที่โปรดให้ครอบครัวในบ้านนั้นมีลูกและจะให้ประสบความรุ่งเรือง ใน ยุโรปโดยเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ถือนกกระสาประหนึ่งที่เคารพทีเดียว ในเยอรมันและเนเธอร์แลนด์ถือว่านก กระสาเป็นนกที่นำโชคลาภมาให้ ดังนั้นชาวเยอรมันและวิลันดาจึงยินดีที่จะให้นกกระสามาทำรังบนหลังคาบ้านเสมอ ยิ่ง อาศัยอยู่นานเท่าใด ก็ยิ่งเป็นมงคลแก่บ้านนานเท่านั้น นกกระสาจึงเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่าสำคัญตามเทพนิยาย นิทาน ชาวบ้าน และนิทานเทียบสุภาษิตต่างๆ ของฝรั่งด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้

    อนึ่งชาวยุโรปทั่วไปเขาเชื่อกันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษด้วยว่า ในคราวที่บ้านหนึ่งบ้านใดกำลังจะมีเด็ก เจ้าแม่อโฟรไดที่จะให้นกกระสามาบินวนเวียน เหนือบ้านนั้น คตินี้กินความไปถึงว่า ถ้านกกระสาบินวนเหนือบ้านที่กำลังจะมีเด็กเกิด เด็กนั้นจะคลอดออกจากครรภ์โดยง่ายและอยู่รอดด้วย แต่คตินี้ในที่สุดก็เป็นเพียงข้อ อ้างที่พ่อแม่จะใช้ตอบลูกตอนโต ๆ เมื่อถูกถามว่าน้องเล็กเกิดมาแต่ไหน หรือตัวเกิดจากอะไรเท่านั้น
    เทวีอโฟร์ไดที่มีต้นเมอร์เทิลเป็นพฤกษาประจำองค์ สัตว์เลี้ยงของเจ้าแม่เป็นนก บ้างว่าเป็นนกเขา นกกระจอกบ้าง หงส์บ้าง ตามแต่กวีคนไหนจะชอบใจยกให้เป็น สัญลักษณ์ของเทวีแห่งความงามและความรัก
    เทพีวีนัส ที่หลายตำราบอกว่ากำเนิดจากฟองคลื่น ที่หยดเลือดของบิดานางหยดลงทะเล ก่อให้เกิดตำนานมากมาย ทั้งความรัก ความอุดมสมบูรณ์ และตำนานกล่าวขานมาเนิ่นนาน ดังเช่นน้ำเพียงหยดหนึ่งในทะเล ไม่รู้ว่าจะทำให้ชีวิตต่างๆ บนโลก หมุนเปลี่ยนไปอย่างไร วันแล้ว วันเล่า มีทั้งคุณค่ามหาศาลต่อชีวิต มีทั้งโทษภัยที่ควบคุมลำบาก มีผลต่อชีวิต จิตวิญญาณผู้คน จากรุ่นสู่รุ่น
    ที่มา  http://202.129.59.73/nana/legend/venus.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น